1. ถาม ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สามารถเลือกที่จะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำอย่างเดิมได้หรือไม่
ตอบ ร่าง พรบ. มศก. กำหนดให้เป็นระบบคู่ขนานตลอดไป โดยข้าราชการหรือลูกจ้างประจำสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย หรือลูกจ้างมหาวิทยาลัย หรือจะคงสภาพความเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำต่อไปก็ได้ ดังนั้น ข้าราชการและลูกจ้างประจำสามารถอยู่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำจนเกษียนอายุราชการได้
2. ถาม ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากรอยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้มีมติเห็นชอบร่าง พรบ.มศก. พ.ศ..... และให้นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาดำเนินการต่อไปนั้น ร่าง พรบ.มศก. พ.ศ..... ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่าง พรบ.มศก. พ.ศ..... ตามที่กระทรวงศึกษาเสนอ ขณะนี้ร่าง พรบ. มศก.พ.ศ..... ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฏีกา (คณะที่ 8) เรียบร้อยแล้ว จากนั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ก็จะนำร่าง พรบ.มศก. พ.ศ. .... เสนอกลับไปที่คณะรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณานำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาร่าง พรบ. มศก. พ.ศ. .... โดยให้ มศก. มีฐานเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐแล้ว ก็จะส่งให้ราชเลขาธิการนำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
3. ถาม ขอทราบความคืบหน้าการจัดทำกฎหมายลำดับรอง?
ตอบ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น จำนวน 8 ชุด ได้แก่ 1. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร 2. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานภาพและระบบบริหารงานบุคคล 3. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารงานวิชาการ 4. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารการเงินและทรัพย์สิน 5. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารงานกิจการนักศึกษา 6. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารงานวิจัยและบริการทางวิชาการ 7. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับสภาคณาจารย์และพนักงาน
8. คณะอนุกรรมการจัดทำข้อบังคับ ระเบียบและประกาศเกี่ยวกับการประกันคุณภาพและการประเมิน เพื่อพิจารณาจัดทำร่างข้อบังคับ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยในระยะเริ่มต้นของมหาวิทยาบัยศิลปากรที่มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายจะประกาศใช้ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศ ดังต่อไปนี้ก่อน คือ - ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยศิลปากร - ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานของมหาวิทยาลัยศิลปากร - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาอธิการบดี - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคณบดี - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหัวหน้าส่วนงานที่เรียกชื่ออย่าง อื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับการรักษาการแทน และการปฏิบัติการแทน - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นลูกจ้างของ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับสภาวิชาการ - ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย หรือส่วนงานของมหาวิทยาลัย - ข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากรเกี่ยวกับการบริหารการเงินของมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้รองรับ ทั้งงบประมาณแผ่นดิน งบเงินอุดหนุน และเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
4. ถาม ผู้บริหารตำแหน่งใดบ้างที่จะต้องเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ตอบ ในเรื่องนี้ ขอถือตามร่าง พรบ.มศก. พ.ศ.... ที่ผ่านความเห็นชอบจากการพิจารณาร่วมกันหลายฝ่ายกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ตำแหน่งผู้บริหารที่จะต้องเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย มี 2 ตำแหน่ง เท่านั้น ได้แก่ 1. ตำแหน่งอธิการบดี ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จะต้องพิจารณาว่ามีความประสงค์จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไปหรือไม่ ถ้าประสงค์จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีต่อไปต้องแสดงความประสงค์ขอเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ พรบ.มศก. (ฉบับใหม่) มีผลใช้บังคับ
2. ตำแหน่งคณบดี และหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จะต้องพิจารณาว่ามีความประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารดังกล่าวอยู่ต่อไปหรือไม่ ถ้าประสงค์จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารตำแหน่งดังกล่าวต่อไป ต้องแสดงความประสงค์ขอเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ พรบ. มศก. (ฉบับใหม่) มีผลบังคับใช้
5. ถาม บำเหน็จ บำนาญ คำนวณอย่างไร?
ตอบ - กรณีที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วย เวลาราชการ บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วย เวลาราชการ หารด้วย 50 (เวลาราชการถ้าเศษของปีถึง 6 เดือน ปัดเป็น 1 ปี ตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 29) - กรณีเป็นสมาชิก กบข. บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วย เวลาราชการ บำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วย เวลาราชการ หารด้วย 50 (แต่ไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (เวลาราชการให้นับรวมเศษของปีด้วย ตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และมาตรา 66)
6. ถาม การเปลี่ยนสถานภาพของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย/ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยมีกำหนดเวลาเพียงใด
ตอบ การแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 แสดงเจตนาภายใน 1 ปี ให้บรรจุเป็นพนักงานฯ/ลูกจ้างทันทีโดยไม่ต้องประเมินฯ
ระยะที่ 2 แสดงเจตนาภายหลัง 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ให้ประเมินความรู้ความสามารถ จึงบรรจุเป็นพนักงานฯ /ลูกจ้าง ไม่ต้องทดลองงาน
ระยะที่ 3 แสดงเจตนาภายหลัง 3 ปี ถ้ามหาวิทยาลัยเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย และมีกรอบอัตรารองรับ ให้บรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย /ลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับ
เมื่อยื่นเรื่องแสดงเจตนาแล้วจะถอนไม่ได้
7. ถาม ถ้าเปลี่ยนสถานภาพแล้ว จะเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญดี หรือควรต่อ กบข. หรือไม่
ตอบ ได้สรุปข้อมูลมาให้ใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
แต่มีข้อควรคำนึงสำหรับผู้ที่ต่อ กบข. เนื่องจากตามมาตรา 44 แห่ง พรบ. กบข. กำหนดไว้ว่า สมาชิกภาพ ของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการนั้นๆ หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ ดังนั้น สมาชิก จึงไม่สามารถลาออกจาก กบข. ได้ในขณะที่ยังรับราชการอยู่ และผู้ที่ต่อ กบข. เมื่อออกจากราชการ เกณฑ์การได้รับบำเหน็จหรือบำนาญก็จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ปกติ (ออกด้วยเหตุรับราชการนานหรือสูงอายุ) ดังนี้
8. ถาม อยากให้สรุปว่า ถ้าเปลี่ยนสถานภาพแล้ว หากเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญจะได้สิทธิประโยชน์อย่างไรต่อไป
ตอบ สรุปมาให้ดังนี้
|